12 สิงหาคม 2559

ดูแลและเอาใจใส่ โภชนาการผู้สูงภัยคนใกล้ตัว

   เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่ายกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะทางร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมลง เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ เช่น ผิวหนัง ผม ตา หู จมูก ลิ้น ฟัน เป็นต้น
    ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในเรื่องต่างๆ ของผู้สูงอายุและพยายามปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามวัย ซึ่งสิ่งสาคัญอีกเรื่องคือ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ นั่นคือ สารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายนั่นเอง ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ โดยที่ความต้องการพลังงานของร่างกายจะลดลง เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ น้อยลงกว่าเดิม ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงอยู่แล้ว ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ดังนี้

    




1. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก และมันสำปะหลัง กลุ่มนี้เป็นสารอาหารหลัก และให้พลังงานแก่ร่างกายมากกว่าสารอาหารจากกลุ่มอื่น ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม คือ ข้าวมื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและของหวาน

2. อาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์และงา ถั่วชนิดต่างๆ อาหารกลุ่มนี้จำเป็นในการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อปลาและถั่วชนิดต่างๆ
    - กินไข่สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง (ถ้าไขมันในเลือดสูงกินเฉพาะไข่ขาว)
    - ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 1 แก้ว
    - เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา ย่อยง่าย ควรดัดแปลงให้นุ่ม ชิ้นเล็กๆ
    - กินถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหารเพิ่ม


3. อาหารประเภทผักต่างๆ ผักจะให้วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายขับถ่ายเป็นปกติ
4. อาหารประเภทผลไม้ ให้วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เนื้อนุ่มเคี้ยวง่าย ได้แก่ มะละกอ กล้วยสุก ส้ม และควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น/คำ สำหรับผู้สูงอายุที่อ้วน หรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน เป็นต้น


5. อาหารประเภทไขมัน ได้แก่ ไขมันจากพืช และไขมันจากสัตว์ จะให้พลังงานแก่ร่างกายและยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางอย่างด้วย แต่อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุก็ควรจำกัดอาหารประเภทไขมัน โดยรับประทานน้ำมัน 4-6 ช้อนชา เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไลโนเลอิก เช่น น้ำมันหมู ไข่แดง กะทิ หนังสัตว์ เครื่องใน เนยมาการีน เป็นต้น
   
  นอกจากนี้ เราควรดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น การปรุงอาหารให้เปื่อยนุ่ม ง่ายต่อการเคี้ยว และการย่อย จัดแต่งอาหารให้มีสีสันน่ารับประทาน และควรปรุงสุกใหม่ๆ ทุกมื้อ
  

   หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารเค็มจัด หวานจัด ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรจัดอาหารให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นด้วยเพียงเท่านี้เราก็สามารถดูและผู้สูงอายุที่บ้านให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว และมีความสุข





ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก โดย คุณธนพร จิวสุวรรณ หัวหน้างานโภชนาการ งานโภชนาการ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว